บ้านโนนบาก บ้านเกิดของพวกเฮา http://lekwave.siam2web.com/

 
 
 
 
 
 
ตะลึง ! แกรนด์แคนยอนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล

          สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล  และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ  ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็ก  ใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000  แอ่ง หรือ  3 พันโบก  โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง  และคำว่า “โบก” เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก  กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ   แหล่งใหญ่ที่สุด  รักษาระบบนิเวศน์และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยุ่ได้อย่างสมดุล

          สำหรับในช่วงหน้าแล้ง  สามพันโบก  จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง  ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ  บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ  บางแอ่งขนาดเล็ก  มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่น  รูปดาว  วงรี  และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุดเดิ้ล  มีความสวยงาม

          นายเรืองประทิน  เขียวสด  ครูโรงเรียนบ้านสองคอน  ซึ่งเป็นในผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริเวณ      ดังกล่าว  ระบุว่า  สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา  ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่  สูงประมาณ  3-7  เมตร  กว้างประมาณ  20  เมตร  ทางเข้าของแกรนแคนยอนแม่น้ำโขงมีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นาๆ  บ้างก็ว่าแต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม  เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ  จึงให้สุนัขเฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภกลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น  สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด  บางตำนานก็ว่า  ลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่ง  และได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางเข้าระหหว่างการขุดกระทั่งสุนัขได้ตายลง

 


หาดสลึง


จุดชมวิวหาดสลึง


เครื่องมือจับปลาแบบเดียวกับภาพเขียนสีผาแต้ม


การตักปลา

          การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร  ควรเริ่มต้นที่หาดสลึง บ้านสองคอน ตรงนี้มีแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ หาดสลึง เป็นหาดทรายขาวละเอียดทอดยาวไปตลอดแนวแม่น้ำโขง   ปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุดตลอดระยะทางยาวกว่า 700 กิโลเมตร โดยมีความกว้างของแม่น้ำเพียง 56 เมตร เท่านั้น ชาวบ้านในระแวกนี้ มีอาชีพจับปลา ซึ่งยังคงใช้วิถีชีวิตและเครื่องมือจับปลาแบบโบราณอยู่ ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ จะมีประเพณีแข่งตักปลา ซึ่งนับว่าคงเหลืออยู่ที่เดียวในประเทศไทยที่ยังจับปลาด้วยวิธีนี้อยู่ ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือ มีแก่งใหญ่ขวางกลางลำน้ำโขง เรียกว่า หินหัวพะเนียง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน และในบริเวณใกล้เคียงยังมี ถ้ำ ที่มีความสวยงามในลำน้ำโขงประกอบด้วย  ถ้ำนางเข็นฝ้าย ,  ถ้ำนางต่ำหูก , หาดหงษ์ , หาดหินสี , หลักศิลาเลข ,  แก่งสองคอน , ภูเขาหิน  และหาดแห่  โดยมีที่พักให้นักท่องเที่ยวได้พักอย่างสะดวกสบายริมหาดสลึง  และร้านอาหารไทยและอีสานที่ปรุงด้วยฝีมือชั้นยอด  


หินพัวพะเนียง


จุดชมวิวบนหินหัวพะเนียง

          การล่องเรือไปชมสามพันโบก จะล่องลงตามแม่น้ำโขงระยะทางจากหาดสลึงประมาณ 4 กิโลเมตร บริเวณสามพันโบกกินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร พื้นที่แห่งนี้ เชื่อว่าในอดีตเกิดการกัดเซาะของพลังน้ำวนอย่างรุนแรงกระจายเต็มพื้นที่จนเกิดรู หรือโบกขึ้นมากมาย ชาวบ้านจึงพากันเรียนกว่าสามพันโบก เนื่องจากมีโบกนับไม่ถ้วนนั่นเอง และด้วยชั้นหินที่กินเนื้อที่กว้างใหญ่มาก จึงดูคล้ายกับแกรนด์แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกามาก จนอาจขนานนามสถานที่แห่งนี้ได้ว่า แกรนด์แคนยอนเมืองสยาม สามพันโบกเมืองอุบล

ขนาดของผาหิน ให้เทียบจากชายเสื้อสีน้ำเงินในภาพ
NTT_Sampanbok-016.jpg
 
 
 
   
NTT_Sampanbok-018.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-006.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-005.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-015.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-014.jpg
 
NTT_Sampanbok-010.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-011.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-012.jpg


 




NengP2043384-003.jpg
เคล้าแสงอาทิตย์...
NTT_Sampanbok-002.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-003.jpg
 
 
NTT_Sampanbok-009.jpg


 

          แก่งอีเขียว (น้ำตกห้วยทรายใหญ่) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 29 ก.ม. แม้จะไกลไปนิด แต่ความเหนื่อยจะหายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อได้เห็นและสัมผัสกับบรรยากาศที่สวยงามตามธรรมชาติ

น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว)


 

น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว)

น้ำตก ห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข ๒๓๖๙  ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง ๒๖ กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ ๒๙ มีทางแยกขวาไปอีก ๖ กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน เที่ยวชมได้ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม

ช่องอานม้า
จุดผ่อนปรนชายแดนไทย-กัมพูชา ตลอดเส้นทางรมรื่นป่าไม้ ภูเขา เป็นที่จำหน่ายสินค้า แลกเปลี่ยนระหว่างชาวไทย-กัมพูชา
ตำบลตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ช่องตาอู
เป็น จุดผ่อนปรนการค้าขายชั่วคราวระหว่างประชาชนชาวไทยกับระชาชนลาว จะมีการเปิดค้าขายในวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ การคมนาคมยังไม่ค่อยสะดวก
ตำบลตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
ด่านช่องเม็ก (1)
เป็น แหล่งจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศไทย กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นด่านชายแดนที่มีการค้าขาย
ตำบลตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ช่องเม็ก



เที่ยวตลาดการค้าชายแดนลาว

ตลาดชายแดนลาวที่ช่องเม็ก

ช่อง เม็กเป็นจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาวในภาคอีสานเพียงแห่งเดียวที่ไม่มีแม่น้ำโขง ขวางกั้น นอกจากเป็นบริเวณที่ประชาชนทั้งสองประเทศผ่านไปมาหาสู่กันแล้ว ทั้งสองฝั่งยังมีตลาดการค้าชายแดนขนาดใหญ่มีสินค้าให้ซื้อมากมายหากอยาก เที่ยวชมบรรยากาศและวิถีชีวิตของเพื่อนบ้านให้จุใจ ก็สามารถขอใบอนุญาตผ่านแดนเพื่อไปเที่ยวในเขตเมืองจำปาสัก ประเทศลาว ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและโบราณสถานที่สวยงาม เช่น เมืองปากเซ วัดภู น้ำตกคอนพะเพ็ง เป็นต้น

 

- ด่านเปิดเวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน รถยนต์ที่ขออนุญาตผ่านแดนแล้วผ่านเข้า-ออกได้เวลา 08.00-12.00 และ 13.00-16.30 น.
- ถ้าเป็นวันหยุดราชการ ต้องเสียค่าล่วงเวลาที่ฝั่งลาวคนละ 5 บาท รถยนต์คันละ 25 บาท กรณีผ่านเข้าออกเฉพาะบริเวณย่านการค้าชายแดน ไม่ต้องเสียค่าผ่านแดน แต่ถ้าเข้าไปเที่ยวไกลกว่าบริเวณย่านตลาดการค้าชายแดนหรือประมาณ 1 กม. จากด่านชายแดนไทย-ลาว ต้องเสียค่าผ่านแดน
- จอดรถยนต์ได้บริเวณศูนย์การค้าซึ่งอยู่ด้านซ้ายมือก่อนถึงด่าน (ไม่เสียค่าบริการ)
- บริเวณช่องเม็กไม่มีที่พักบริการ สามารถพักได้ที่เขื่อนสิรินธร หรือ อช. แก่งตะนะ ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 15 และ 20 กม. ตามลำดับ

ที่ตั้ง
สุดทางหลวงหมายเลข 217 (ถ. สถิตย์นิมานกาล) ต. ช่องเม็ก อ. สิรินธร

สิ่งน่าสนใจ

 ตลาดการค้าชายแดนฝั่งไทย
แม้ ว่าจะมีการสร้างศูนย์ การค้าแห่งใหม่ที่ทันสมัยและเป็นระเบียบ แต่พ่อค้าแม่ค้าก็ยังนั่งค้าขายอยู่ในเพิงผ้าใบพลาสติก หรือเพิงมุงจากเกะกะเป็นแนวทึบคล้ายกับตลาดนัดทั่วไป สินค้าส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน และอาหารแห้ง ตามความต้องการของลูกค้าจากฝั่งลาว  สินค้าส่วนใหญ่ผลิตในไทย จึงอาจไม่มีสินค้าแปลกใหม่ในสายตาคนไทย ถ้าไม่สนใจก็ผ่านเลยไปเที่ยวในฝั่งลาวเลยก็ได้

แม่ค้าชาวม้งขายสมุนไพรที่ตลาดชายแดนลาว

 ตลาดการค้าชายแดนฝั่งลาว
เมื่อ ผ่านตลาดการค้าชาย แดนฝั่งไทย จนสิ้นสุดชายแดนไทยที่ปลายทางหลวงหมายเลข 217 จะถึงด่านชายแดนไทย-ลาว จากนั้นถนนจะเชื่อมต่อทางหลวงของลาวไปยังเมืองปากเซ ตลาดการค้าชายแดนฝั่งลาวมีบรรดาแม่ค้าชาวลาวนั่งปูเสื่อขายสินค้าพื้นบ้าน เช่น ผัก ผลไม้ สมุนไพร กบ เขียด แมลง นก กิ้งก่า แย้ เป็นต้น เดินเลยด่านไปเล็กน้อย บริเวณด้านซ้ายมือจะมีร้านค้าปลอดภาษี จำหน่ายสุราและบุหรี่ต่างประเทศ ขนมอบแห้งจากประเทศจีนซึ่งมีราคาถูกกว่าฝั่งไทยเล็กน้อย

ถัด ไปอีกประมาณ 200 ม. บนทางหลวงของลาว มีอาคารติดต่อข้ามแดนของลาวอยู่ด้านขวา ระหว่างทางมีชาวเขาเผ่าม้งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของลาวมานั่งขายสมุนไพรแบกะ ดิน จากนั้นมีทางแยกซ้ายมือ ไปยังตลาดการค้าของลาว แม้จะไม่ทันสมัยเหมือนฝั่งไทย แต่ดูเป็นระเบียบมากกว่า ส่วนสินค้าก็ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ยกเว้นของป่าประเภทกล้วยไม้และสัตว์ป่า ซึ่งไม่แนะนำให้ซื้อ

 เที่ยวลาว
เมื่อ ข้ามช่องเม็ก จะผ่านทุ่งนาและบ้านเรือนของชาวลาวเป็นระยะทางประมาณ 38 กม. จึงถึงเมืองปากเซ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแขวงจำปาสัก (มีฐานะเหมือน อ. เมือง ในประเทศไทย) เมืองนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย มีสะพานแขวนขนาดใหญ่ทอดข้ามแม่น้ำโขงบริเวณบ้านโพนทอง มีความยาวถึง 1,380 ม.  จากเมืองปากเซ มุ่งหน้าลงทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 13 กระทั่งถึงหลัก กม. 30 เลี้ยวขวาลงแพขนานยนต์ข้ามไปฝั่งขวาของ แม่น้ำโขง ถึงเมืองจำปาสักเก่า มีอาคารบ้านเรือนทรงยุโรปซึ่งได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสเรียงรายอยู่สองฟาก ถนน ที่นี่มีเกสต์เฮาส์ราคาถูกหลายแห่ง

จาก เมืองจำปาสักเก่ามุ่งหน้าไปทิศใต้ไปตามถนนลูกรังระยะทาง 13 กม. จะถึงวัดภู ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นถวาย เทพภัทเรศวรเทพเจ้าจามปา ในสมัยอาณาจักรเจนละ เป็นปราสาท ขอม ลัทธิไศวะนิกายในศาสนาฮินดู จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 และถูกดัดแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทในสมัยหลังกลับมาที่ทางหลวงหมายเลข 13 อีกครั้ง ที่ กม. 30 มุ่งหน้าไปทิศใต้ราว 134 กม. ถึงน้ำตกคอนพะเพ็ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลี่ผี-น้ำตกกลางแม่น้ำโขงที่ยิ่งใหญ่จนได้รับการ เปรียบว่าเป็นไนแองการาแห่งเอเชีย บริเวณนี้มีร้านอาหารประเภทปลาแม่น้ำโขงตามสั่งบริการนักท่องเที่ยว ราคาถูกกว่าเมืองไทยเล็กน้อย

หาก มีเวลาเหลือ ควรพักค้างคืนที่เกาะดอนโขง สักคืน ท่าแพขนานยนต์อยู่ห่างจากคอนพะเพ็งย้อนกลับขึ้นไปทางปากเซราว 20 กม. มีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางเป็นภาษาลาวและภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน เกาะดอนโขงเป็นเกาะใหญ่ที่อยู่ในบริเวณมหานทีสี่พันดอนหรือสีทันดร หมายถึงแม่น้ำโขงที่มีบริเวณแผ่กว้างออกเป็นทะเลสาบ ประกอบด้วยเกาะแก่งถึงสี่พันเกาะ นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือชมความงามของเกาะแก่งต่าง ๆ หากโชคดีจะเห็นปลาโลมาน้ำจืดแหวกว่ายอวดโฉมให้ชม

  หาดศรีภิรมย์  ( หาดบุ่งสระพัง )

 

ป้ายบอกทางลง จาก ทางลง หาดศรีภิรมย์ หรือ หาดบุ่งสระพัง พอถึง บ้านปากน้ำ ให้เตรียม เลื่ยวขวา หาทางลง สู่หาดทันที

หาดศรีภิรมย์  ( หาดบุ่งสระพัง ) ทางลง วัดป่าพระพิฆเณศวร์  
เป็น สถานที่ ท่องเที่ยว แห่งหนึ่ง สำหรับ ท่านที่ ชอบ ธรรมชาติ และที่สำคัญ ไม่ห่างจาก ตัว เมืองอุบลราชธานี สักเท่าไหร่ ประมาณ 10 กว่า กิโลเมตร ภายใต้การดูแล และ บริหารโดย องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด  นายบัวผัน สุขนิจ  นายก อบต.  พร้อมด้วย ชาวบ้าน ปากน้ำ กลุ่มหาดศรีภิรมย์  ท่านสามารถใช้เส้นทางทางหลวง อุบลราชธานี-อำเภอตาลสุม ( เส้นทางนี้วิ่งตรง ด่านช่องเม็ก ได้ แต่อ้อมนิดหน่อย)  โดยจะผ่านหมู่บ้าน ชานเมือง ต่าง ๆ เช่น บ้านกุดลาด ทางเข้า บ้านหมากหมี้ บ้านกระโสบ แล้ว ก็จะถึง โรงเรียนบ้านปากน้ำ ถ้าหากอยากแวะ เที่ยวชม วัดปากน้ำ ก็ เลี้ยวซ้าย เข้าผ่านหมู่บ้าน เลย หาก ไม่แวะ ก็ ให้วิ่งตรง มาเรื่อย ๆ ให้สังเกต ป้ายบอกทางลงหาด ด้านขวา มือ เป็นซุ้มประตู ทางลงสู่หาด ศรีภิรมย์ หรือ หาดบุ่งสระพัง ประมาณ 2 กิโลเมตร ก่อนถึง หาดศรีภิรมย์ แวะนมัสการ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพร หลวงพ่อ ที่ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ ซึ่ง เป็นวัดเก่าแก่ ของ คนโบราณ ยุคก่อน ที่มี วิถีชีวิต อาศัยติด ริมแม่น้ำมูล  ตั้งแต่เมื่อสมัยก่อน ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลง ย้ายหมู่บ้าน วัด มาตั้งอยู่ ในปัจจุบัน วัดป่าพระพิฆเณศวร์ หรือ วัดป่าหลวงพ่อพระพิฆเณศวร์ ณ แห่งนี้ เป็นวัดป่า ที่เงียบ แวดล้อมด้วยป่าไม้  นานาพันธุ์ และ ได้มีการค้นพบวัตถุโบราณ ณ ที่วัดแห่งนี้ เป็นพระพุทธรูป และ องค์ ของ พระพิฆเณศวร์ จึงได้ชื่อ เป็นชื่อวัด ตั้งแต่นั้นมาหลังจาก ไหว้พระ ขอพรหลวงพ่อแล้ว ถึงเวลา มุ่งหน้าสู่ หาดศรีภิรมย์ ตามเส้นทาง ไม่นานนัก ท่านจะได้ พบ กับ แพร้านอาหาร ซึ่งมีความยาม นับกิโล ตามแนวริมผั่ง ของ แม่น้ำมูล    อยู่มากมาย ความยาว ตลอดแนว แม่น้ำมูล ที่นี่ น้ำใส สะอาด สามารถแล่นน้ำ ประเภทอาหารขึ้นชื่อละก้อ ก็ต้อง ไก่ย่าง ปลาเผา ต้มยำ ปลาแม่น้ำมูล ยำไข่มดแดง ที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ส้มตำ ทุกประเภท มีทั้ง ตำมั่ว ตำทะเล แซ่บหลายๆ เด้อ และ หลาย ๆ เมนู ที่ไม่ได้เอ่ย  ที่สำคัญ ที่นี่ ไม่ คิดค่าแพนั่งด้วย นั่งกิน นอนกินทั้งวัน ก็ได้ ชาวบ้านที่นี่ น่ารัก อัธยาศัยดี และ ต้อนรับแขกผู้มาเยือน เป็นประจำ (
สำหรับลูกค้า ได้มาเยี่ยมชม เว็บ South laos tour.Com ทางแพร้านอาหาร ยินดี ให้ส่วนลดพิเศษให้ กับท่าน แค่บอกว่า ทราบข้อมูลนำเที่ยวจากเรา )  
     
* เกี่ยวกับ  แม่น้ำมูล  แม่ น้ำมูล เป็นแม่น้ำสายใหญ่ สายหลักของ จังหวัดอุบลราชธานี  อันเปรียบเสมือนสายเลือดใหญ่ที่ได้ไหลลง มาจากต้นกำเนิดในเขตเทือกเขา ในเขต จังหวัดนครราชสีมา ผ่านที่ราบอันกว้างใหญ่ ของภาคอีสานตอนล่าง จากทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออก หล่อเลี้ยงผู้คนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณดินแดนแถบนี้ ผ่านอำเภอวารินชำราบ อำเภอเมือง ( หาดบุ่งสระพัง หรือ ศรีภิรมย์ ตั้ง อยู่ จุดนี้ )  และ  อำเภอพิบูลมังสาหาร ลงสู่ แม่น้ำโขง ที่ ปากน้ำมูล ใน เขตอำเภอโขงเจียม  เป็นจุด ที่เชื่อม รวมกัน จุดนั้น เรียกว่า แม่น้ำสองสี  ระหว่าง แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขง ( โขงสีปูน มูลสีคราม ) หลัง จากนั้น กลายเป็น แม่น้ำโขง แม่น้ำ สายหลัก  เข้า สู่ ประเทศลาว เขมร เวียตนาม และ จีน .
 

เรือแพ ร้านอาหารริม แม่น้ำมูล เปรียบเสมือน สายเลือดแห่ง ชีวิต ของ ชาวบ้านปากน้ำ

มุมด้านบน จะเห็น ฝั่งตรงข้าม นั่นคือ ฝั่งพื้นที่ ของ อำเภอวารินชำราบ ส่วน หาดศรีภิรมย์ ตั้งอยู่ฝั่ง อำเภอเมือง อุบลราชธานี ,  หาดบุ่งสระพัง ( หาดศรีภิรมย์ ) แหล่งท่องเที่ยว บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี

สำหรับท่าน ที่ ชอบธรรมชาติ ถ้าท่าน ได้มาที่นี่ ไม่ผิดหวังแน่ กับบรรยากาศ ที่ ไกล้ชิด ติดขอบ กับ แม่น้ำมูล พร้อมเสียงเพลง  คอย ขับกล่อม ท่าน ไป กับ ความสวยงามของ ธรรมชาติ ,  หาดบุ่งสระพัง ( หาดศรีภิรมย์ ) แหล่งท่องเที่ยว บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี
หาดศรีภิรมย์ หรือ หาดบุ่งสระพัง มีประวัติมานมนาน คนพื้นที่ จะติด และคุ้นหู กับ ชื่อ
ณ ปัจจุบัน หาดบุ่งสระพัง ศรีภิรมย์  เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยว นิยม มาพักผ่อน กันไม่ขาดสาย ถ้าเป็น วันหยุด หรือ วันนขัตฤกษ์ ละก้อ ต้องรอคิว หรือ อาจจะ ไม่มีแพ นั่งก็ได้นะครับ ,  หาดบุ่งสระพัง ( หาดศรีภิรมย์ ) แหล่งท่องเที่ยว บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี
ชื่อ ร้านอาหาร ก็จะเป็น ชื่อ ของ คน ซะมากกว่า เพื่อให้ลูกค้า เรียก และ จำได้ง่าย อาทิเช่น น้องเบียร์ น้องเติ้ล หงษ์ทอง ฯลฯ นับได้ ความยาว ของ ร้านอาหาร แพ ยาว เป็น กิโลเมตร เลยล่ะ ,  หาดบุ่งสระพัง ( หาดศรีภิรมย์ ) แหล่งท่องเที่ยว บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี
อีกหนึ่งแพ แพน้องเติ้ล หรือ แพลุงสังข์ ,  หาดบุ่งสระพัง ( หาดศรีภิรมย์ ) แหล่งท่องเที่ยว บ้านปากน้ำ อุบลราชธานี
เที่ยววัดป่าไทรงาม เดชอุดม และชมน้ำตกห้วยหลวง ภูจองนา-ยอย

               เส้นทางท่องเที่ยวทางอำเภอเดชอุดม มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่หลายแห่ง แต่ที่อยากแนะนำให้ไปชม คือ วัดป่าไทรงาม วัดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำปี 2544 และยังได้รับพระราชทานรางวัลเข็มทองคำจากสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2545 อีกด้วย 

               หากวัดนี้ ตั้งขึ้นท่ามกลางป่าเข้า คงไม่แปลกอะไร แต่ถ้าบอกว่าผืนดินแห่งนี้ เดิมเป็นสุสานร้างกลางเมืองอำเภอเดชอุดม ล้อมรอบด้วยผืนนากว้างใหญ่ ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของ พระอธิการอเนก ยสทินฺโน ลูกศิษย์ของ หลวงปู่ชา สุภัทฺโธ วัด หนองป่าพง จึงได้ค่อยๆ ฟื้นฟู พัฒนา และปลูกป่า จนได้รับรางวัลในที่สุด ภายในวัด สงบ ร่มรื่นมาก จนไม่อยากเชื่อว่า จะอยู่ใจกลางอำเภอเดชอุดม เชิญคลิกไปชมครับ http://guideubon.com/news/view.php?t=18&s_id=17&d_id=27

น้ำตกบักเตว หรือน้ำตกห้วยหลวง

          น้ำตกห้วยหลวง (น้ำตกบักเตว) ตั้งอยู่กลางป่าสมบูรณ์ไหลตกจากหน้าผาสูง 45 เมตร ถือได้ว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุด และงดงามที่สุดของภาคอีสานตอนล่าง  ไหลตกจากหน้าผาสูงชัน ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ และลานหินหาดทราย ด้านล่างมีบันไดทางลงจากศาลาชมทิวทัศน์สู่น้ำตกด้านล่าง นอกจากนี้ ยังมีน้ำตกอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกทลายแห่ง เช่น น้ำตกเกิ้งแม่ฟอง น้ำตกถ้ำบอน น้ำตกจุ๋มจิ๋ม น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) เป็นต้น

   

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
อุทยาน แห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ประกอบด้วย สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมาย เช่น ผาชัน น้ำตกสร้อยสวรรค์ เสาเฉลียง ถ้ำปาฏิหารย์ ภูนาทาม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ที่บริเวณ ผาขาม ผาแต้ม ผาเจ็ก ผาเมย และถือได้ว่าเป็น อุทยานแห่งชาติ แห่งแรกใน ประเทศไทย ที่มี แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระหว่าง ประเทศไทย และประเทศลาว เป็นแนว เขตอุทยานแห่งชาติ ที่ยาวที่สุด ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขา ทาง ฝั่ง ประเทศลาว ตอนใต้ ได้เป็นอย่างดี

 เสาเฉลียง
ก่อน ถึง ผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นหินตั้งซ้อนกันโดยธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายดอกเห็ด เรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในแผ่นดินขนาดใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ สายลมและแสงแดดมีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกัน มองดูคล้ายดอกเห็ด

 น้ำตกลงรู
ธาร น้ำตก บนรู บนลานหินทรายหลากไหลชั่วนาตาปี มีธรรมชาติเป็น ตัวกำหนดให้ พลังแห่งสายน้ำ ทำงานของมันไปในวัฏจักร แห่งกาลเวลา ความหมายของ สายน้ำบนลานหินทรายนี้ อาจไม่มีเรื่องราวแปลกประหลาด หากไร้ซึ่งก้อน กรวดทราย ที่พลังน้ำพัดเหวี่ยงหมุนวน สร้างหลุมกุมภลักษณ์ขึ้น ที่เหนือเพิงผา ใครจะเชื่อว่า หลุมกุมภลักษณ์ที่ทะลุ เพดานถ้ำจะกลาย เป็นสายน้ำที่ลอดทะลุลงมา เรียกขานว่า น้ำตกลงรู คู่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

 ป่าดงนาทาม
เป็น ป่าอยู่บริเวณทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีพื้นที่ติดต่อกัน 3 อำเภอ คืออำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงที่เป็นแนวชายแดน ไทย - สปป.ลาว มีพื้นที่ประมาณ88 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 55,000 ไร่ ในปี 2534 ได้รับการประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม 

 แก่งตะนะ
ตั้ง อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ลำน้ำมูลเมื่อไหลมาพบดอนตะนะแล้วสายน้ำจะแยกเป็นสองสาย ไหลโอบทั้งสองด้านของดอนตะนะแล้วมารวมกันอีกครั้ง จากนั้นจึงไหลลงมาทางแก่งตะนะ ซึ่งมีโขดหินขนาดมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูล กระแสน้ำที่เชี่ยวกรากจะกัดเซาะลงในแนวโขดหินสูงราว 1 เมตร บ้างก็ไหลซอกซอนไปตามร่องหินและลานหินริมฝั่งมูล ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยมซึ่งสร้างขึ้นใน สมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก ทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำอีกหลายแห่ง จึงทำให้ปลาบริเวณแก่งตะนะชุกชุม บริเวณริมแก่งตะนะมีโต๊ะฮ่องเต้ ซึ่งเป็นโต๊ะหินทรายที่มีขนาดใหญ่ กว้าง 2.25 เมตร ยาว 6.80 เมตร เป็นแผ่นหินธรรมชาติที่นำมาจากลำน้ำมูล เป็นจุดนั่งชมทิวทัศน์ของแก่งตะนะ ทางอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง จากแก่งตะนะไปลานผาผึ้ง และจากแก่งตะนะไปดอนตะนะ
 

ชายแดนช่องเม็ก หรือ ด่านช่องเม็ก
คือ อาณาเขตติดต่อระหว่าง ไทย กับ ลาว เป็นที่สิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 217 ด้วยระยะทาง 89 กิโลเมตร จากอุบลราชธานี ถนนสายนี้จะเชื่อมกับถนนใน เขตลาว เข้าไปสู่ เมืองปากเซในอีก 38 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเซีย บริเวณ ช่องเม็ก มีด่านตรวจคนเข้าเมือง และร้านขายสินค้าที่นำเข้ามาจาก ประเทศลาว

แม่น้ำสองสี
หรือ ดอนด่านปาก แม่น้ำมูล อยู่ในเขต บ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 84 กิโลเมตร จุดที่สามารถมองเห็น แม่น้ำสองสี ได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัด โขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชมทัศนียภาพสอง ฝั่งแม่น้ำ หรือซื้อของที่ระลึกที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว อีกด้วย
เขื่อนปากมูล
เป็น เขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กิโลเมตร ห่างจากจุดบรรจบของ แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขง ประมาณ 6 กิโลเมตร สันของ เขื่อนปากมูล สามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจาก อำเภอโขงเจียม ไป อำเภอสิรินธร ได้โดยไม่ต้องย้อนไป อำเภอพิบูลมังสาหาร นอกจากนี้บริเวณท้ายเขื่อนยังสามารถ ล่องเรือชมทิวทัศน์ ลำน้ำมูล ที่งดงามโดยตลอดไปบรรจบกับ แม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำสองสี

แก่งสะพือ
เป็น แก่งที่สวยงามใน แม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัว อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กิโลเมตร คำว่า “สะพือ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ซำฟืด” หรือ “ซำปึ้ด” ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรือ งูเหลือม แก่งสะพือเป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสำหรับเที่ยวชม แก่งสะพือ คือช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจนสวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ด้วย 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำ มีศาลาพักร้อน และร้านขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมา เที่ยว พักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลตำบล พิบูลมังสาหาร ได้จัดงานประเพณีสงกรานต์ แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย

บั้งไฟพญานาค โขงเจียม อุบลราชธานี
บั้ง ไฟพญานาค ,ความเป็นมา ของ บั้งไฟ พญานาค มีมาหลายปีแล้ว ที่ บ้านตามุย ชุมชนใต้ ผาแต้ม ไกล้ติด ริมโขง ซึ่งประกอบไปด้วย บ้านกุ่ม บ้านตามุย และบ้านท่าล้ง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้เล่าขานถึงปรากฎการณ์ “บั้งไฟพญานาค ” ที่ปรากฏขึ้นกลางลำน้ำโขงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หรือวัน ออกพรรษา ของเมืองไทย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย จนเมื่อวัน ออกพรรษา ของปี พ.ศ. 2548-49 ได้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องนี้อย่างจริงจัง จนทำให้มีประชาชนสนใจไป พิสูจน์ปรากฏการ์บั้งไฟพญานาค อย่างมากมาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และสื่อมวลชน โดยเฉพาะในปี 2549 ผู้ที่ไปร่วมพิสูจน์ ต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่ามี ปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค นี้เกิดขึ้นจริงๆ โดยมีผู้พบเห็นลูกไฟสีชมพู ที่เรียกว่าบั้งไฟพญานาค ผุดขึ้นกลางน้ำโขงกว่า 20 ลูกในคืนวันออกพรรษาของปี 2549 และ นับตั้งแต่นั้นมา ได้ มี นักท่องเที่ยว ชาวบ้าน อำเภอ จังหวัด ไกล้เคียง ได้มารอชม บั้งไฟพญานาค ทุก ๆ ปี ที่ อุบลราชธานี

หาดผาแต้มจังหวัดอุบลราชธานี

สีแดงๆ น้ำตาลๆ นั่นละภาพเขียน มีหลายกลุ่มคะ

เดินไปเรื่อยๆระยะ1-2กิโลเมตรหรือไงนี่ละคะ วันนั้นเดินได้แค่สองจุด

 ต้องรีบเดินย้อนกลับเพราะมืดแล้ว

ต้นไม้ตามทางเดินไปชมภาพเขียน ร่มรื่นดี

บนหน้าผา..ผาแต้ม

*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-


 

ปราสาทพนมรุ้งอยู่จังหวัดบุรีรัมย์

 

ทางขึ้นปราสาทเขาพนมรุ้ง ที่มีเรื่องมีราว นารายณ์บรรทมศิลป์ก็ที่นี่ละ

ได้คืนมาและติดไว้ที่เดิมเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ถ่ายภาพมาให้ดู เสียดายมากๆเลย

ให้ดูฉากหลังนะคะ ชอบเมฆ ท้องฟ้าและปราสาท

หากนางแบบรู้คงเสียใจแย่เลย ที่เน้นฉากหลังมากกว่านางแบบ

บรรยากาศรอบๆปราสาทพนมรุ้ง

-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

ต่อด้วย อะไรเอ่ยเห็นแล้วนะคะ ไม่ต้องบอก

น้ำเยอะมาก ไปช่วงหน้าฝน

แก่งสะพือ


 

          แก่งสะพือ เป็นแก่งที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแก่งที่อยู่ในแม่น้ำมูล ในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 45 กิโลเมตร  ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217

          แก่งสะพือ เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "ซำพืด" หรือ "ซำปื้ด" ซึ่งเป็นภาษาส่วยที่แปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม  แก่งสะพือ จะมีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน กระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ริมแก่งจะมีศาลาพักร้อนตั้งอยู่ สำหรับให้นักท่องเที่ยวนั่งชมทัศนียภาพของแก่ง

          ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม แก่งสะพือจะมีผู้นิยมไปเที่ยวกันมาก เพราะน้ำจะลดทำให้เห็นแก่งได้ชัดเจนและสวยงาม ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมแก่ง นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร ก็ได้กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสืบทอดประเพณีอันดีงามไว้ ซึ่งในงานนี้ก็มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมงานเป็นจำนวนมาก

          ตลาดเก่าพิบูล ตลาดเล็กๆ เชิงสะพานข้ามแม่น้ำมูล เลยขึ้นมาจากแก่งสะพือเล็กน้อย เป็นตลาดเก่าของอำเภอพิบูลมังสาหาร อาคารร้านค้า บ้านไม้แบบเก่าอยู่ริมถนน ขายสินค้า อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์การเกษตร เครื่องมือประมง มีร้านขายซาลาเปารสชาติดีอยู่ริมสี่แยกเชิงสะพาน เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมวิถีชีวิต ซื้ออาหาร ของฝากที่ขึ้นชื่อ คือ ซาลาเปาและหนังกบแห้ง

   


 

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย    

Image
 

 

 
Image6
Image7
Image8

 
Image9
Image10
Image11

 
Image12
Image13
Image14

 
Image15
Image16
Image17

 

 
Image18 Image19
Image20

 
Image21
Image22
Image23

Image24
Image25
Image26

Image27
Image28

Image29


ข้อมูลทั่วไป

อุทยาน แห่งชาติภูจอง-นายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรักประกอบด้วยภูเขาภูเล็กภูน้อย มากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลาญสูง ภูพลาญยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่ หรือ 686 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: สืบเนื่องจาก ร.ต.ท.ณรงค์ เทวคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 ถึงกรมป่าไม้ เสนอโครงการพัฒนาป่าภูจอง-นายอยให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามความต้องการของราษฎรอำเภอนาจะหลวย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 116/2526 ลงวันที่ 19 มกราคม 2526 ให้นายอนุศักดิ์ ศรีทองแดง เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว

ผลการสำรวจ ปรากฏว่าสภาพพื้นที่ป่าสมบูรณ์ สัตว์ป่าหลายชนิดชุกชุม และมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ตามรายงานการสำรวจ ที่ กส 0713(ภจ)/พิเศษ ลงวันที่ 12 เมษายน 2526 เพื่อเป็นการสนองตอบความต้องการของราษฎรที่จะอนุรักษ์ป่าภูจอง-นายอยไว้ ต่อมานายเคน ประคำทอง ราษฎรอำเภออุดมเดช จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2526 ถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เร่งรัดสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมเห็นว่า พื้นที่ป่าภูจอง-นายอยมีสภาพทิวทัศน์และธรรมชาติที่สวยงามเหมาะที่จะจัดตั้ง เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือวนอุทยานภูจอง ที่ กห 0713(ภจ)/77 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2527

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 3/2527 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2527 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูจอง-นายอยในท้องที่ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 103 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 53 ของประเทศ



 ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วน ใหญ่บริเวณป่าภูจอง-นายอยจะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำลำห้วยที่สำคัญ ของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูนตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่างๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง



 ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพ ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย จัดเป็น 3 ฤดู ฤดูฝน เริ่มราวเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ฤดูหนาว เริ่มราวเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งอากาศโดยทั่วไปไม่ร้อนจัดเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยช่วงฤดูหนาวมีอากาศที่เย็นมากอีกครั้งหนึ่ง



 พืชพรรณและสัตว์ป่า

ประกอบ ด้วยพรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วนๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณร้อยละ 75 โดยเฉลี่ยประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่างๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พะยูง มะค่า แกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า








Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 154,624 Today: 28 PageView/Month: 1,253

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...